-
-
สินค้าของเรา
-
ติดตามข่าวสาร
-
รายการสินค้า
-
-
มิกเซอร์
-
เพาเวอร์มิกเซอร์
-
เครื่องปรับแต่งเสียง
-
ลำโพงฮอร์น
-
ลำโพงเพดาน
-
ตู้ลำโพง
-
โทรโข่ง
-
ตู้ลำโพงเคลื่อนที่
-
เครื่องขยายเสียง
-
ไมโครโฟน (มีสาย)
-
ไมค์ลอย
-
ไมค์ประชุม
-
เครื่องเล่น (MP3 อื่นๆ)
-
หูฟัง
-
โวลุ่มหรี่เสียง
-
ชุดทัวร์ไกด์
-
โพเดียม
-
เครื่องตั้งเวลา
-
ระบบภาพ
-
แร็คใส่อุปกรณ์
-
แหล่งจ่ายไฟ
-
เครื่องเสียงคาราโอเกะ
-
ดอกลำโพง
-
ขาตั้งและอุปกรณ์
-
สายสัญญาณ
-
ปลั๊ก-แจ็ค
-
เครื่องดนตรีและอุปกรณ์
-
อินเตอร์คอม
-
เครื่องเสียงรถแห่
-
เครื่องเสียงในบ้าน
-
เครื่องแยกโซนลำโพง
-
หม้อแปลง-ลายท์
-
เครื่องเสียงระบบ IP
-
เครื่องเสียงห้องเรียน
-
ลำโพงในสวน
-
-
ระบบสมาชิก
การเลือกซื้อ ไมค์ประชุม
การทำงานในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่หรือเล็ก คงหลีกเลี่ยงการประชุมหารือกันไม่ได้อย่างแน่นอน ในอดีตหากคุณเป็นองค์กรขนาดเล็ก การพูดกันด้วยปากเปล่า ก็คงเพียงพอแล้ว แต่หากเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีผู้เข้าร่วมประชุมมากการที่จะพูดให้ทุกคนได้ยินชัดเจนย่อมเป็นไปได้ยาก และเพื่อให้เสียงได้ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ จึงเกิดไมโครโฟนที่ใช้สำหรับงานประชุมโดยเฉพาะ เพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับการประชุมขนาดใหญ่ เช่น การประชุมรัฐสภาเป็นต้น แต่ในปัจจุบัน จากภาวะ โรคระบาด โควิด 19 การติดต่อสื่อสาร ต้องมีระยะห่างมากขึ้น ไมค์ประชุม จึงถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในสภาวะการเช่นนี้ ไม่ว่า จะเป็น การประชุมในองค์กรทุกขนาด หรือแม้แต่ การประชุมผ่าน Video Conference เป็นต้น
ชนิดของไมค์ประชุม
ก่อนอื่นเราควรทราบก่อนว่าไมค์ประชุมมีกี่ชนิด และเหมาะกับการใช้งานอย่างไรบ้าง เราสามารถแบ่ง ชนิดของไมค์ประชุมโดยใช้เกณฑ์ในการแบ่งได้หลายอย่าง
- ระบบ ในอดีตไมค์ประชุมสามารถแยกออกได้เป็น 2 ระบบคือระบบ อนาล็อก และ ดิจิตอล โดยในตอนเริ่มแรกยังคงเป็นแบบไมค์ชนิดใช้สาย โดย 2 ระบบนี้มีความแต่งต่างกันที่ การส่งสัญญาณเสียงเป็น แต่ก็พูดได้ว่าความแตกต่างของเสียงแทบจะไม่ต่างกันมาก แต่ที่ต่างกันอย่างชัดเจน คือการระบุตำแหน่งของไมโครโฟนแต่ละตัว ถ้าเป็นอนาล็อกจะไม่สามารถระบุได้ว่าไมค์ทำงาน ณ ขณะนั้นหรือพูดง่ายๆ ในระบบดิจิตอล เราสามารถระบุ IP ที่เฉพาะของแต่ละไมค์ได้ ทำให้ระบบดิจิตอล สามารถเพิ่มฟังก์ชั่นการทำงาน เช่น ระบบ จัดคิวของไมค์ และบางรุ่นสามารถใช้เพื่ออ้างอิงในการควบคุมการทำงานของกล้องวีดีโอ เพื่อให้กล้องหันไปหาไมค์ในตำแหน่งนั้นได้เป็นต้น เราจะเห็นว่าระบบดิจิตอลมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายกว่า แต่นั่นก็หมายถึงราคาที่สูงกว่าระบบอนาล็อก ปัจจุบันไมค์ส่วนใหญ่จะเป็นระบบดิจิตอลเกือบทั้งหมด แต่ยังคงมีบางยี่ห้อที่ยังใช้ระบบอนาล็อกอยู่
- พื้นที่ใช้งาน ห้องประชุมบางที่อาจไม่ได้มีการวางตำแหน่งโต๊ะประชุมที่แน่นอน อาจมีการปรับเปลี่ยนแล้วแต่โอกาสในการใช้งานการเลือกไมค์โดยคำนึงถึงตามพื้นที่เราสามารถเลือกจากการเชื่อมต่อของไมด์โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ แบบมีสายกับแบบไร้สาย หากห้องประชุมของเราไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายหรือยกเก็บ แบบนี้เราสามารถใช้ได้ทั้งระบบมีสายหรือไร้สายก็ได้ ถ้าไม่ติดเรื่องงบประมาณเพราะระบบไร้สายมักจะมีราคาสูงกว่าระบบมีสาย 2-3 เท่าเลยทีเดียว แต่หากจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบไร้สาย ในระบบไร้สายเองก็ยังสามารแยกย่อยได้เป็น 2 แบบ คือแบบมีลำโพงในตัวกับแบบไม่มีลำโพงในตัว ในแบบที่ไม่มีลำโพงในตัวต้องมีเครื่องขยายเสียงและลำโพงช่วยต่างหาก แต่งบประมาณก็จะถูกกว่าไมค์ประชุมไร้สายที่มีลำโพงในตัวอยู่มาก
การเลือกซื้อต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
- งบประมาณ ส่วนนี้จะทำให้เราตัดสินใจได้ว่าจะใช้ระบบมีสายหรือไร้สาย
- การใช้งาน ถ้าเน้นที่การเคลื่อนย้ายต้องพุ่งไปที่แบบไร้สาย แต่หากติดปัญหาเรื่องงบประมาณอาจจะเลือกไมค์ประชุมไร้สายแบบที่ไม่มีลำโพงในตัว และถ้าเป็นรุ่นที่ไมค์ประธานตัดเสียงไม่ได้ราคาก็จะถูกลงมาก ไมค์ประชุมลักษณะหลังนี้นิยมใช้ในการประชุม video - conference กันมากขึ้นในปัจจุบัน